นักวิทย์ค้นพบ 'หนูผีช้างโซมาเลีย' ในแอฟริกา หลังหายสาบสูญไปนาน 50 ปี 

เป็นที่ทราบกันว่ามีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่สูญพันธุ์จากโลกนี้ไปอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบางครั้งที่สัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว กลับมามีการค้นพบว่ายังคงมีหลงเหลืออยู่ เช่นเดียวกันกับ หนูผีช้างโซมาเลีย (Somali elephant shrew) ในปี 1960 ได้เคยมีการบันทึกโดยนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสายพันธุ์ที่หายสาบสูญ แต่ไม่นานมานี้มีรายงานที่น่าประหลาดใจเป็นอย่างมาก เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสายพันธุ์หนูผีช้างนี้ในสาธารณรัฐจิบูตี (Djibouti) นครรัฐในแอฟริกาตะวันออก

หนูผีช้างโซมาเลีย เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องจมูกที่ค่อนข้างยาว และพวกมันถูกพบในป่าแอฟริกันเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี โดยปกติแล้วหนูผีช้างจะมีรูปร่างคล้ายหนู แต่กลับมีจมูกยื่นยาวเหมือนงวงช้าง เป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยาก ออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่พบอยู่เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น

จากรายงานการพบเห็น ทราบว่าคนท้องถิ่นในประเทศจิบูตีได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์โดยการวางกับดักสำหรับล่อหนูผีช้างโซมาเลีย ซึ่งประกอบด้วย เนยถั่ วข้าวโอ๊ต และสารสกัดจากยีสต์ และหลังจากจับตัวอย่างมาได้หลายตัว หนูผีเหล่านี้ก็ได้ถูกนำมาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการมีชีวิตรอดมาได้หลังจากคาดว่าหนูผีชนิดนนี้น่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว

หนูผีช้าง หรือที่ มีชื่อเรียกในภาษาเบนตูว่า เซงกิส (Sengis) ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ห่างไกลกับ อาร์ดวาร์ก (Aardvark) และพะยูนแมนนาที (manatees) เช่นเดียวกับช้างแม้ว่าจะมีขนาดเท่าหนูก็ตาม และพวกมันกินแมลง แมงมุม ตะขาบ กิ้งกือ และไส้เดือนเป็นหลัก และใช้จมูกหาเหยื่อ ส่วนลิ้นของมันมีหน้าที่ตวัดอาหารเล็ก ๆ เข้าปากเหมือนกับตัวกินมด

และจากการศึกษาในระดับโมเลกุลในห้องปฏิบัติการ พบว่าหนูผีช้างมีความใกล้ชิดกับช้างมากกว่าสัตว์ในอันดับใด ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยจัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับใหญ่ แอโฟรธีเรีย (Afrotheria) ที่มีวิวัฒนาการอยู่ในแอฟริกามากว่า 100 ล้านปีแล้ว

 


ดูข่าวต้นฉบับ: board.postjung.com


Another News:

Another news:

0 Blogger 0 Facebook

 
L10 PVC machine and Electronic News in Thai © 2013. All Rights Reserved. Powered by Blogger
Top